วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

การปฐมพยาบาลบาดแผลเบื้องต้น


การปฐมพยาบาลบาดแผลอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันอันตรายและลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ โดยควรปฏิบัติดังนี้


- ชนิดของบาดแผลบาดแผลปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง เช่น แผลฟกช้ำ ห้อเลือด ข้อเท้าพลิก ข้อแพลง


การดูแล


ใน 24 ชั่วโมงแรก ใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำเย็นประคบ เพื่อไม่ให้เลือดออก และช่วยระงับอาการปวด หลัง 24 ชั่วโมง ควรประคบด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยละลายลิ่มเลือด บาดแผลเปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก แผลตัด แผลฉีกขาดกระรุ่งกระริ่ง แผลถูกยิง แผลถูกแทง แผลถูกยิง การดูแล ชะล้างแผลและทำความสะอาดรอบๆ แผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้ากอซสะอาด ซับบริเวณแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน (Betadine) ไม่จำเป็นต้องปิดแผล ถ้าเป็นแผลถลอก หากมีเลือดซึม ควรใช้ผ้ากอซสะอาดปิดแผลไว้ ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมาก ให้ห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาล บาดแผลที่เย็บการดูแล ดูแลแผลไม่ให้สกปรก ไม่ควรให้ถูกน้ำเพราะจะทำให้แผลที่เย็บไม่ติด และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย การเปลี่ยนผ้าปิดแผลควรทำให้น้อยที่สุดหรือทำเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ถ้าแผลสะอาดไม่ต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผลจนถึงกำหนดตัดไหม ยกเว้น แผลสกปรก อาจต้องล้างแผลบ่อยขึ้น ตามปกติ จะตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน แต่ถ้าแผลยังอักเสบ หรือยังไม่แน่ใจว่าแผลติดแล้ว อาจต้องรอต่อไปอีก 2 – 3 วัน ให้แผลติดกันดีจึงค่อยตัดไหม ยกเว้นรายที่มีการติดเชื้อ แผลเป็นหนอง จำเป็นจะต้องตัดไหมออกก่อนกำหนด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหมายถึง การที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน ที่อุณหภูมิสูงกว่า 50 C ได้แก่ เปลวไฟ ไอน้ำร้อน น้ำเดือด สารเคมี กระแสไฟฟ้า และรังสีต่างๆ ชนิดของแผลไหม้
เฉพาะชั้นผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ลักษณะแผลแห้ง แดง และถ้าลึกถึงหนังแท้จะพองเป็นตุ่มน้ำใสและบวม การดูแล
ระบายความร้อนออกจากแผล โดยใช้ผ้าชุบน้ำ หมั่นประคบบริเวณบาดแผล หรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลา นานประมาณ 10 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย ทาด้วยยาทาแผลไหม้ ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่พองออก ปิดด้วยผ้าสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและพันผ้าไว้ ถ้าแผลไหม้เป็นบริเวณกว้างหรือเป็นอวัยวะที่สำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ได้แก่ ไขมัน กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก เป็นต้น ลักษณะแผลมีสีน้ำตาลเทาหรือดำ ผิวหนังรอบๆ จะซีด มีกลิ่นไหม้ อาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อน ถึงเสียชีวิตได้ การดูแล
ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากบาดแผลเพราะจะยิ่งทำให้แผลติดเชื้อมากขึ้น ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก ให้ความอบอุ่น และรีบนำส่งโรงพยาบาล * ห้ามใช้น้ำปลา ยาสีฟัน ยาหม่อง ทาแผล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อทำให้แผลอักเสบได้


อันตรายจากสารเคมี


เมื่อถูกสารเคมีหกราดผิวหนังหรือลำตัวให้ปฏิบัติตัวดังนี้
ใช้น้ำล้าง โดยใช้วิธีตักราด หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่านนานประมาณ 10 นาที หรือนานจนแน่ใจว่าล้างออกหมด ถอดเสื้อผ้าเครื่องประดับที่เปื้อนสารเคมีออกให้หมด นำส่งโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บสาหัส สิ่งสำคัญ ถ้าสารเคมีเป็นผง ให้ถอดเสื้อผ้า และเครื่องประดับที่เปื้อนออกให้หมด แล้วล้างด้วยน้ำ เพราะถ้าใช้น้ำล้างทันที สารเคมีจะละลายน้ำทำให้ออกฤทธิ์เพิ่มขี้นสารเคมีเข้าตา
ต้องรีบให้การช่วยเหลือเพราะอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนี้
1. ล้างด้วยน้ำสะอาด นานประมาณ 20 นาที โดยเปิดน้ำจากก๊อกเบาๆ ล้าง หรือเทน้ำจากแก้วล้างระวังอย่าให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่ง2. ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ห้ามขยี้ตา นำส่งโรงพยาบาลทันที

การพยาบาลเบื้อต้น

การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล เป็นวิธีการช่วยเหลือแก้ไขผู้ป่วยที่หมดสติ อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด และสมอง หยุดทำงานไม่ทำหน้าที่ชั่วคราวให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ การช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องทำทันทีและอย่างถูกต้องตามเทคนิค จึงจะช่วยชีวิตของผู้ป่วยได้ทันท่วงทีเพราะถ้าช่วยไม่ถูกวิธีผู้ป่วยอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการปฐมพยาบาลจึงมีความสำคัญกับชีวิตของผู้ป่วยมาก
สาเหตุของการหมดสติ แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุ คือก. สาเหตุจากหัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) เกิดที่หัวใจโดยตรงพบได้บ่อย เช่น ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดมาเลี่ยงหัวใจตีบ หรือมีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดทำให้เกิดอาการเหล่านี้ คือ- เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ- Cardiac output ลดลง- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ- กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้น้อยเมื่อผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจะทำให้เกิดอาการหัวใจหยุดเต้นได้ ต้องรีบปฐมพยาบาลทำการแก้ไขช่วยเหลือทันทีข. สาเหตุอื่นๆ ผู้ป่วยหมดสติจากสาเหตุต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น จากอุบัติเหตุ จมน้ำ ถูกไฟฟ้าดูด แพ้ยา เสียเลือดมาก เสียดุลกรดด่าง หรือเกิดภาวะขาดออกซิเจน สาเหตุเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหมดสติได้ต้องรีบแก้ไขตามสาเหตุ
การช่วยผู้ป่วยไม่หายใจ ขั้นตอนการปฐมพยาบาล คือ

ก. การเป่าลมหายใจ มีวิธีการทำ คือ
1. วางผู้ป่วยนอนหงายแหงนศีรษะไปข้างหลัง
2. เปิดปากผู้ป่วยล้วงเอาสิ่งที่กีดขวางออก
3. ประกบปากเราเข้ากับปากผู้ป่วย ใช้นิ้วมือบีบจมูกผู้ป่วยแล้วเป่าอากาศเข้าไปในปากผู้ป่วย ถ้าอ้าปากผู้ป่วยไม่ได้ให้เป่าเข้าทางจมูก แล้วสังเกตการขยายของทรวงอก ถ้าทรวงอกไม่ขยายแสดงว่ามีสิ่งกีดขวางทางลม ให้ตะแคงตัวผู้ป่วยตบหลังแรงๆแล้วล้วงปากใหม่ ลองเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยใหม่
4. เป่าลมเข้าปากผู้ป่วยตามจังหวะการหายใจ ประมาณ 15-16 ครั้งต่อนาทีเมื่อได้ทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วย โดยการเป่าลมหายใจช่วยผู้ป่วยแล้วควรคลำชีพจรดูด้วย เมื่อชีพจรเริ่มกลับมาควรทำซ้ำจนกว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้น

ข. การนวดหัวใจจากภายนอก ขณะที่ทำการเป่าลมหายใจให้ผู้ป่วยนั้น ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ควรทำการนวดหัวใจจากภายนอกทันที ขั้นตอนการทำ คือ
1. จัดผู้ป่วยนอนราบกับพื้นแข็ง หรือใช้ไม้รองหลัง ถ้าผู้ป่วยอยู่บนเตียง
2. ผู้ทำคุกเข่าลงข้างซ้ายหรือข้างขวาแล้วแต่ถนัด
3. ใช้มือทั้ง 2 ข้างประสานกันหรือประสานกดทับกัน
4. วางมือบนตำแหน่งลิ้นปี่คือ 1/3 ล่างตรงกลางของ Sternum
5. กดลงไปสัก 1-2 นิ้ว ขณะกดแขนควรเหยียดตรงทิ้งน้ำหนักตัวผ่านไหล่ แขน และมือลงไปที่ Sternum
6. โยกตัวกลับหลังจากกดแล้ว
7. ผู้ใหญ่กด 70-80 ครั้งต่อนาที ในเด็กกด 100-120 ครั้งต่อนาที
8. ในเด็กเล็กกดตรงกลาง Sternumลึก ? นิ้ว ควรพิจารณาให้การกดสัมพันธ์กับตัวเด็ก และระวังไม่กดต่ำเพราะตำแหน่งที่ต่ำจะเป็นอวัยวะภายในได้แก่ ตับ กระเพาะ และม้าม จะเป็นอันตรายกับเด็กได้
9. การนวดหัวใจควรทำให้สัมพันธ์กันกับการเป่าลมหายใจเพราะการเป่าลมหายใจช่วยให้ทรวงอกขยายตัว แต่การนวดหัวใจกดให้ทรวงอกยุบลง
10. ไม่ควรใช้ข้อศอก นวดหัวใจ เพราะจะทำให้ผู้ทำล้าเร็ว
11. ถ้าทำคนเดียวควรทำสลับกันคือ นวดหัวใจ 15 ครั้ง แล้วเป่าลมหายใจ 2 ครั้ง
12. ถ้าทำ 2 คน คนหนึ่งนวดหัวใจ 5 ครั้ง แล้วหยุดให้อีกคนหนึ่งเป่าลมหายใจ 1 ครั้ง ทำสลับกันระหว่างทำควรตรวจดูชีพจร ประเมินการเต้นของหัวใจดูสีผิวหนัง การหายใจ รูม่านตา ควรทำติดต่อกันไปจนกว่าผู้ป่วยจะได้สติและอาการดีขึ้น
..........................................................................................

ประวัติการทำงาน

บรรจุเข้าทำงาน ในตำแหน่ง ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ฝ่ายการพยาบาล
สถานที่ โรงพยาบาลเขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2536
พ.ศ. 2536 – 2539 ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ประจำงานผู้ป่วยใน
พ.ศ. 2540 ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ประจำงานเวชระเบียน ห้องบัตรผู้ป่วยนอก
พ.ศ. 2541 ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ประจำงานห้องผ่าตัด
พ.ศ. 2542 ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ประจำงานจ่ายกลาง
พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ประจำงานอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน


การฝึกอบรม – การศึกษาดูงาน


พ.ศ. 2540 ศึกษาดูงาน การบริการสู่ความเป็นเลิศ การสร้างองค์กร ( O.D. – E.S.B. )
ณ โรงพยาบาลอุดรธานี
พ.ศ. 2541 ศึกษาดูงานระบบ 5 ส. ณ โรงพยาบาลพิจิตร , โรงพยาบาลตะพานหิน จ.พิจิตร
พ.ศ. 2542 ศึกษาดูงานระบบ 5 ส. ณ โรงพยาบาลยโสธร
พ.ศ. 2543 อบรมบริการสู่ความเป็นเลิศ การสร้างองค์กร ( O.D. – E.S.B. )ณ โรงแรมชิตสกล
จ.อำนาจเจริญ
พ.ศ. 2544 อบรมบริการสู่ความเป็นเลิศ การสร้างองค์กร ( O.D. – E.S.B. ) ณ ศูนย์สุขภาพโขงเจียม
จ.อุบลราชธานี
พ.ศ. 2545 อบรมบริการสู่ความเป็นเลิศ การสร้างองค์กร ( O.D. – E.S.B. ) ณ รังเย็นรีสอร์ท จ.เลย
พ.ศ. 2548 อบรมการช่วยเหลือผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ( EMS ) ณ สำนักงานสาธารณสุข จ. อุบลราชธานี
พ.ศ. 2549 อบรมการใช้วิทยุสื่อสาร ณ สำนักงานสาธารณสุข จ. อุบลราชธานี
พ.ศ. 2549 ศึกษาดูงานโรงพยาบาลคุณภาพ ณ โรงพยาบาลมะขาม จ.จันทบุรี
พ.ศ. 2550 อบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาองค์กร
พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน อบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR ) ปีละ 1 ครั้ง


................................................................................................................................................................................

ประวัติส่วนตัว



ประวัติส่วนตัว

ชื่อ น.ส.กุลภัสสรณ์ นามสกุล สุธรรมาวงศ์
อายุ 39 ปี เกิด 5 ธันวาคม 2511
สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ 48 หมู่ที่ 6 บ้านสมสะอาด ต. กองโพน อ.นาตาล จ. อุบลราชธานี
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 50 ถ.วีระเกษม ต. เขมราฐ อ. เขมราฐ จ. อุบลราชธานี
บิดา นายจำนงค์ สุธรรมวงศ์
มารดา นางสาคร สุธรรมวงศ์
เป็นบุตรลำดับที่ 1 ในจำนวนพี่น้อง 2 คน
สีที่ชอบ สีฟ้า
งานอดิเรก เล่นกีฬา
กีฬาที่ชอบ เปตอง ( ชอบเล่น ) , ฟุตบอล ( ชอบดู )
นิสัย ร่าเริง ใจเย็น


ประวัติการศึกษา

สำเร็จการศึกษาดังนี้
ชั้นประถมศึกษา 1 - 6 จาก ร.ร. บ้านนาชุม ต.กองโพน อ.นาตาล จ. อุบลราชธานี

พ.ศ. 2518 - 2523

ชั้นมัธยมศึกษา 1 - 6 จาก รร. เขมราฐพิทยาคม ต.เขมราฐ อ. เขมราฐ จ. อุบลราชธานี
พ.ศ. 2524 - 2529