วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

การพยาบาลเบื้อต้น

การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล เป็นวิธีการช่วยเหลือแก้ไขผู้ป่วยที่หมดสติ อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด และสมอง หยุดทำงานไม่ทำหน้าที่ชั่วคราวให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ การช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องทำทันทีและอย่างถูกต้องตามเทคนิค จึงจะช่วยชีวิตของผู้ป่วยได้ทันท่วงทีเพราะถ้าช่วยไม่ถูกวิธีผู้ป่วยอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการปฐมพยาบาลจึงมีความสำคัญกับชีวิตของผู้ป่วยมาก
สาเหตุของการหมดสติ แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุ คือก. สาเหตุจากหัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) เกิดที่หัวใจโดยตรงพบได้บ่อย เช่น ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดมาเลี่ยงหัวใจตีบ หรือมีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดทำให้เกิดอาการเหล่านี้ คือ- เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ- Cardiac output ลดลง- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ- กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้น้อยเมื่อผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจะทำให้เกิดอาการหัวใจหยุดเต้นได้ ต้องรีบปฐมพยาบาลทำการแก้ไขช่วยเหลือทันทีข. สาเหตุอื่นๆ ผู้ป่วยหมดสติจากสาเหตุต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น จากอุบัติเหตุ จมน้ำ ถูกไฟฟ้าดูด แพ้ยา เสียเลือดมาก เสียดุลกรดด่าง หรือเกิดภาวะขาดออกซิเจน สาเหตุเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหมดสติได้ต้องรีบแก้ไขตามสาเหตุ
การช่วยผู้ป่วยไม่หายใจ ขั้นตอนการปฐมพยาบาล คือ

ก. การเป่าลมหายใจ มีวิธีการทำ คือ
1. วางผู้ป่วยนอนหงายแหงนศีรษะไปข้างหลัง
2. เปิดปากผู้ป่วยล้วงเอาสิ่งที่กีดขวางออก
3. ประกบปากเราเข้ากับปากผู้ป่วย ใช้นิ้วมือบีบจมูกผู้ป่วยแล้วเป่าอากาศเข้าไปในปากผู้ป่วย ถ้าอ้าปากผู้ป่วยไม่ได้ให้เป่าเข้าทางจมูก แล้วสังเกตการขยายของทรวงอก ถ้าทรวงอกไม่ขยายแสดงว่ามีสิ่งกีดขวางทางลม ให้ตะแคงตัวผู้ป่วยตบหลังแรงๆแล้วล้วงปากใหม่ ลองเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยใหม่
4. เป่าลมเข้าปากผู้ป่วยตามจังหวะการหายใจ ประมาณ 15-16 ครั้งต่อนาทีเมื่อได้ทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วย โดยการเป่าลมหายใจช่วยผู้ป่วยแล้วควรคลำชีพจรดูด้วย เมื่อชีพจรเริ่มกลับมาควรทำซ้ำจนกว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้น

ข. การนวดหัวใจจากภายนอก ขณะที่ทำการเป่าลมหายใจให้ผู้ป่วยนั้น ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ควรทำการนวดหัวใจจากภายนอกทันที ขั้นตอนการทำ คือ
1. จัดผู้ป่วยนอนราบกับพื้นแข็ง หรือใช้ไม้รองหลัง ถ้าผู้ป่วยอยู่บนเตียง
2. ผู้ทำคุกเข่าลงข้างซ้ายหรือข้างขวาแล้วแต่ถนัด
3. ใช้มือทั้ง 2 ข้างประสานกันหรือประสานกดทับกัน
4. วางมือบนตำแหน่งลิ้นปี่คือ 1/3 ล่างตรงกลางของ Sternum
5. กดลงไปสัก 1-2 นิ้ว ขณะกดแขนควรเหยียดตรงทิ้งน้ำหนักตัวผ่านไหล่ แขน และมือลงไปที่ Sternum
6. โยกตัวกลับหลังจากกดแล้ว
7. ผู้ใหญ่กด 70-80 ครั้งต่อนาที ในเด็กกด 100-120 ครั้งต่อนาที
8. ในเด็กเล็กกดตรงกลาง Sternumลึก ? นิ้ว ควรพิจารณาให้การกดสัมพันธ์กับตัวเด็ก และระวังไม่กดต่ำเพราะตำแหน่งที่ต่ำจะเป็นอวัยวะภายในได้แก่ ตับ กระเพาะ และม้าม จะเป็นอันตรายกับเด็กได้
9. การนวดหัวใจควรทำให้สัมพันธ์กันกับการเป่าลมหายใจเพราะการเป่าลมหายใจช่วยให้ทรวงอกขยายตัว แต่การนวดหัวใจกดให้ทรวงอกยุบลง
10. ไม่ควรใช้ข้อศอก นวดหัวใจ เพราะจะทำให้ผู้ทำล้าเร็ว
11. ถ้าทำคนเดียวควรทำสลับกันคือ นวดหัวใจ 15 ครั้ง แล้วเป่าลมหายใจ 2 ครั้ง
12. ถ้าทำ 2 คน คนหนึ่งนวดหัวใจ 5 ครั้ง แล้วหยุดให้อีกคนหนึ่งเป่าลมหายใจ 1 ครั้ง ทำสลับกันระหว่างทำควรตรวจดูชีพจร ประเมินการเต้นของหัวใจดูสีผิวหนัง การหายใจ รูม่านตา ควรทำติดต่อกันไปจนกว่าผู้ป่วยจะได้สติและอาการดีขึ้น
..........................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น: